- เมื่อปัญญามีกำลังพอที่จะพิจารณ
านี้ได้แล้ว ก็ย้อนเข้าไปดูจุดนี้ คือจุดแห่งความผ่องใส จุดแห่งความองอาจ จุดแห่งความสุขอันละเอียดของอวิ ชชาที่อาศัยอยู่นี้ จะต้องทลายตัวลงไปด้วยอำนาจของป ัญญาที่ละเอียด เมื่อธรรมชาตินี้ได้สลายตัวลงไป ด้วยอำนาจของปัญญาแล้วน้้น คำว่าเราก็ดี ส่ิงที่เราเคยสงวนก็ดี ส่ิงที่เราเคยรักเคยชอบก็ดี ส่ิงที่องอาจกล้าหาญอันเป็นจุดเ ดียวกันน้ันก็ดี จะหมดปัญหาไปทันที ไม่มีส่ิงใดเหลืออยู่ภายในน้ัน ถ้าหากจะเทียบอุปมาแล้ว จุดอันนี้เป็นเช่นเดียวกับบุคคล ที่เข้าไปในห้องว่าง เมื่อเข้าไปสู่ห้องว่างแล้ว ผู้นั้นจะลืมตัวของตัวไปเสีย แต่จะไปชมว่าห้องนี้ว่างโล่งโถง เต็มที ไม่มีส่ิงใดอยู่ในห้องนี้เลย ห้องนี้ว่างอย่างเต็มที่โดยไม่ท ราบว่าตัวคนเดียวน้ันแลไปทำการก ีดขวางห้องอยู่ในขณะน้ัน ห้องจึงยังไม่ว่างเพราะยังเหลือ คนๆหนึ่งไปทำการากีดขวางห้องน้ั นอยู่ พอรู้สึกตัว อ้อ.... ห้องนี้ว่างจริง แต่ที่ห้องนี้ยังไม่ว่างเต็มที่ ก็เนื่องจากเรามาอยู่ในห้องนี้ค นหนึ่ง ถ้าเราถอนตัวออกไปเสียจากห้องนี ้แล้ว ห้องนี้จะว่างอย่างเต็มที่ ข้อนี้อุปมาฉันใด ทุกส่ิงทุกอย่างว่างปล่อยวางกัน ได้หมด แต่ยังเหลือคำว่า "เรา" ซึ่งเป็นตัว "อวิชชา" อันแท้จริงอยู่กับใจ น้ันแหละ "อวิชชา" ล้วนๆ คือ "เรา" น้ันแหละกีดขวางตัวเองอยู่ในเวล าน้ัน ไม่ทราบว่า อวิชชาน้ันคืออะไร เราจึงเห็นส่ิงทั้งหลายว่าง หรือว่าเราวางส่ิงทั้งหลายได้หม ดไม่มีส่ิงใดเหลือ แต่ธรรมชาติอันนั้นทำการกีดขวาง ตัวของเราอยู่ เราเลยไม่ว่าง พอปัญญาได้หย่ังเข้าไปสู่จุดนี้ ่แล้ว ธรรมชาตินี้ก็สลายตัวลงไป น้ันแลภายนอกก็ว่าง ภายในใจตัวเองก็ว่าง เช่นเดียวกับบุคคลถอนตัวออกมาจา กห้อง แล้วห้องน้ันก็ว่างอย่างเต้มที่ จิตรู้ทุกส่ิงทุกอย่างรอบด้านหม ดแล้่วด้วย มารู้รอบตัวเองปล่อยวางภายในตัว เองนี้ด้วย ชื่อว่าจิตนี้ว่างอย่างเต้็มที่ ไม่มีสมมุติอันใดแฝงอยู่ภายในน้ ันเลย นี่ชื่อว่าจิตว่างจริง จิตปล่อยวางจริง ถ้าหากจิตยังไม่รู้ตัวเอง ยังไม่ถอดถอนตัวเองตราบใด ถึงจิตจะว่าสิ่งใดว่างหรือปล่อย วางส่ิงใดได้แล้วก็ตาม จิตก็ยังไม่ว่างในตัวเอง จิตยังไม่ปล่อยวางตัวเองอยู่น้ั ่นแล เมื่อเป็นเช่นน้้น คำว่า อวิชชาก็คือ จิตผู้น้ันยังจะมีทางสืบต่อไปได ้อีก เม่ื่อได้ทำลายพีชอันสำคัญ หรือตัวอวิชชาอันแท้จริงนี้ได้ด ้วยปัญญาแล้ว น้ันแลชื่อว่าเป็นผู้ว่าง เป็นผู้วางอย่างเต้มภูมิ ไม่มีสมมุติอันใดเจือปน ความสงวนก็ไม่มี ความรักก็๋ไม่มี ความองอาจกล้าหาญก็ไม่มี ความที่จะขยาดหวาดกลัวเพื่ออะไร อีกก็ไม่มี เพราะส่ิงทั้งนี้เป็นสมมุติทั้ง น้ัน เนื่องจากอวิชชาซึ่งเป็นรากแก้ว ใหญ่อันพาให้เกิดอาการเหล่านี้ข ึ้นมาได้สลายลงไปแล้ว เหลือแต่ธรรมชาติล้วนๆ นี่จุดสุดท้ายแห่งการปฎิบัติธรร มะ หากเราได้ปฎิบัติอย่างเอาจริงเอ าจังตามที่อธิบายมาแล้ืวน้ัน จุดนี้หรือผลสุดท้ายทีอธิบายนี้ จะไม่เป็นสมมัติของใคร แต่จะเป็นสมบัติของท่านผู้ปฎิบั ติตามที่กล่าวมานี้ท้ังน้ัน หลวงตาพระมหาบัว ณาณสัมปันโน จาก "หนังสือ เข้าสู่แดนนิพพาน"
Sunday, April 22, 2012
หลวงตาพระมหาบัว ณาณสัมปันโน จาก "หนังสือ เข้าสู่แดนนิพพาน"
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment